icon facebook1 

News

  • Home
  • News Update
  • เราเรียนรู้อะไรได้บ้าง จากประเด็น ลวก ไม่ลวก หมี่หยก

เราเรียนรู้อะไรได้บ้าง จากประเด็น ลวก ไม่ลวก หมี่หยก

Photo3

 

เปิดปีใหม่มายังไม่ทันไร สังคมไทยเราก็เข้าสู่ความดราม่าอีกแล้ว แค่ประเด็นเล็กๆ บนโลกออนไลน์ก็ถูกส่งต่อจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต

คงไม่ต้องพูดถึงใครหรือประเด็นไหน เพราะคงจะหนีไม้พ้นเรื่องในหม้อ (สุกี้) กับประเด็นถกเถียงเรื่องหมี่หยก ว่าจริงๆ แล้วเวลารับประทาน

ควรจะลวก หรือ ไม่ต้องลวก

 

สมเป็นปีหมูเสียจริง ทำไมเราต้องจริงจังกับเรื่องกินกันขนาดนั้น จากเรื่องเล็กๆ บนทวิตเตอร์ จากผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ถกเถียงกับเพื่อน

เพราะฝ่ายหนึ่งยืนยันว่าบะหมี่หยกลวกมาแล้ว และโรยกระเทียมมาจึงไม่จำเป็นต้องลวกอีก

Picture2

ขณะที่ฝั่งลวกบะหมี่หยก บอกว่าบะหมี่มันแข็งแล้วก่อนลวกก็ให้เขี่ยกระเทียมไว้ในถ้วยก่อน

พลังของแฮทแท็กก็ทำงาน โดยประเด็นดังกล่าวมีผู้เข้ามาร่วมถกเถียงกันด้วยมากมาย

ต่างฝ่ายต่างพากันติดแฮชแท็ก #ทีมลวกหมี่หยก และ #ทีมไม่ลวกหมี่หยก จนถึงขั้นติดไทยเทรนด์ในกลางดึก

 

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าแม้แต่การกินของสิ่งเดียวกันก็ยังคงมีความแตกต่างในแง่ของพฤติกรรม

และนั่นก็ถูกถ่ายทอดส่งต่อกันมาจนบางครั้งเราก็เรียกมันว่าวัฒนธรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักการตลาดต้องรู้และเข้าใจ

 

Marketing You Know? วันนี้เราจึงขอหยิบเอาประเด็นนี้มาขยี้เรื่องปัจจัยทางวัฒนธรรมกันอีกครั้ง

เพราะเรามองว่าความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งก็ยังคงเป็นหัวใจในการสร้างแบรนด์

 

MK อาจจะไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้ว่า หมี่หยกที่ขายอยู่ทุกวันลูกค้าจะมีวิธีการบริโภคแตกต่างกันขนาดนี้

 

แน่นอนว่า MK ก็คงไม่ทุ่มงบประมาณในการทำ Research เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคหมี่หยก

 

แต่ถามต่อว่าถ้าเรารู้และเข้าใจผู้บริโภคจะดีและเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์กว่าไหม คำตอบก็คือ ใช่

 

สิ่งที่เรากำลังจะบอกก็คือบางครั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคก็ไม่ได้ถูกแสดงออกมา แม้ว่าทำ Research ก็ไม่ได้คำตอบที่แท้จริง

 

หากแต่แบรนด์ต้องสังเกต คลุกคลี ทำความเข้าใจแบบเปิดใจ ถึงจะเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างเเท้จริง

 

ในกรณีนี้อาจจะไม่ได้เหมือนกับเคสอื่นๆ ที่จุดเริ่มต้นมาจากแบรนด์และขยายวงกว้างไปสู่ผู้บริโภค

แต่กลับเริ่มจากผู้บริโภคแล้วแบรนด์ค่อยเข้ามามีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากดราม่าครั้งนี้ให้เกิดประโยชน์ต่อแบรนด์

Picture3

เราขอยกบทสัมภาษณ์ของ ดั่งใจถวิล อนันตชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด  มายืนยันความคิดนี้อีกครั้ง

 

ดั่งใจถวิล มองว่า “วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่คนไม่ได้พูดถึง อาจจะไม่ได้รู้ตัวว่าเรามีวัฒนธรรมแบบนี้แบบนั้น

แต่เป็นเหมือนกับ DNA Value ที่พร้อมแสดงออกทุกเมื่อที่มีเรื่องมากระตุ้น”

 

บางครั้งเรากินหมี่หยกก็ไม่ได้รู้ตัวว่าต้องลวกหรือไม่ บางครั้งลวก บางครั้งไม่ลวก แต่เราก็ไม่เคยตั้งคำถาม

และไม่เคยหาพวก จนกระทั้งมีจุดกระตุ้นจากสังคมและนั้นก็อาจจะเป็นหนึ่งใน DNA Value ที่ซ่อนอยู่

 

เมื่อ DNA Value ถูกจุดขึ้น ไม่ว่าจะทางที่ดีหรือทางที่ไม่ดี ก็จะเกิด Crowd Culture หรือวัฒนธรรมฝูงชน

ที่เกิดการรวมตัวกันอย่างรวดเร็วด้วย

 

โดยตัวช่วยที่ทำให้เกิด Crowd Culture ในเคสนี้คือ Social Media ทำให้แบรนด์ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ

เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกคุ้นเคยกับการเลือกข้าง มีทั้งเลือกที่จะยอมรับ เลือกที่จะต่อต้าน หรือเลือกที่จะดูสถานการณ์

 

ซึ่งการมีสื่อดิจิทัลที่เชื่อมโยงโลกของผู้บริโภคและโลกของข้อมูลไว้ด้วยกันยิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น

 

 

พูดง่ายๆ ก็คือวันนี้ผู้บริโภคหาพวกได้ง่ายและเร็วขึ้นนั่นเอง นั่นจึงทำให้มีแฮทแท็ก #ทีมลวกหมี่หยก vs #ทีมไม่ลวกหมี่หยก

Picture5

ว่ากันว่าประเด็นดราม่าบนโลกออนไลน์ของคนไทย ข้ามคืนไปคนก็ลืมแล้ว MK จะอยู่เฉยๆ ก็ได้เพราะไม่เรื่องเสียหายกับแบรนด์แม้แต่น้อยในกรณีนี้

 

แต่ MK ก็เลือกที่จะหามุมสนุกของประเด็นนี้นำมาสร้าง Content จนสามารถสร้าง Engagement ได้มิใช่น้อย ยิ่งเทียบกับต้นทุนแล้วยิ่งต่ำมาก

 

และก็ไม่ใช่แค่ MK เจ้าของแบรนด์ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ยังมีแบรนด์อื่นที่พยายามเชื่อมโยงเรื่องราวให้เข้ากับกระแสนี้ อย่าง เมเจอร์ และท็อปส์ ขาประจำ

เจ้าพ่อแห่งวงการ Real Time Marketing ก็สร้างสีสันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

เมื่อพูดถึงกันเยอะแค่ Content ที่สร้าง Engagement นำไปสู่การสร้างกิจกรรมทางการตลาดเพื่อให้ลูกค้ามาใช้บริการซะเลย

Picture4

 

สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ชี้ให้เห็นว่า “วัฒนธรรมเป็นเหมือนกับ Iceberg ที่เรามองเห็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นจากภายนอก

แต่สิ่งที่เรามองไม่เห็น สิ่งที่ไม่ถูกพูดถึงยังมีอีกมากมาย”

 

ไม่เพียงเท่านี้ Marketing You Know? ยังได้สรุปบทเรียนที่ได้จากเคสนี้ให้ผู้อ่านและนักการตลาดได้นำไปคิดกันในทีมว่า

เราสามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างทางความคิด และเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าของตัวเองมากพอแล้วหรือยัง

 

1 เข้าใจ DNA Value

การจะเข้าใจวัฒนธรรมในมุมต่างๆ ของผู้บริโภคไม่สามารถทำได้ในวันสองวัน หรือการทำวิจัย Research

แต่ต้องเกิดจากความเข้าใจ คลุกคลี สังเกต DNA Value พร้อมแสดงออกทุกเมื่อที่มีเรื่องมากระตุ้น

 

2 ยุคที่ผู้บริโภคหาพวก

จะมองเป็นข้อดีก็ได้เพราะถ้าแบรนด์ได้ผู้บริโภคมาเป็นพวกก็ยิ่งจะสร้างความได้เปรียบ แต่บางครั้งก็ต้องให้ความระมัดระวัง

เพราะถ้าแบรนด์เกิดข้อผิดพลาดผู้บริโภคก็พร้อมที่จะหาพวกเข้ามาจู่โจมแบรนด์ทันที

เราจะเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า Crowd Culture หรือวัฒนธรรมฝูงชน เกิดการรวมตัวกันอย่างรวดเร็วด้วย

 

3 ความเข้าใจสื่อดิจิทัล

สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้เริ่มต้นมาจากทวิตเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งรวมที่กำลังเติบโตขึ้นเพราะวัยรุ่นเริ่มเปลี่ยนมาใช้

นั่นก็เป็นตัวชี้วัดว่าแบรนด์เองก็ต้องตามให้ทันว่าสื่อดิจิทัลวิ่งไปอยู่ตรงไหน อะไรคือเทรนด์ของคนกลุ่มไหน

อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าเราสนใจ จากการใช้ Social Media จากเคสนี้ยิ่งตอกย้ำว่าดิจิทัลโครตสำคัญ

 

4 Real Time Content ของจริง

ที่ผ่านมาเราอาจจะได้ยินคำว่า Real Time Marketing กันมาบ้าง แต่ในปีนี้เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ

จะทำให้นักการตลาดต้องทำงานหนักและท้าทายมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์

เแล้วนำมาสร้าง Real Time Content ให้เกิด Engagement กับแบรนด์ในทุกมิติ

 

5 Content กับ Context

การทำ Content ก็ต้องเข้าใจ Context ด้วยว่าจะมีผลกระทบในเชิงบวกหรือลบ

บางครั้งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ไม่เข้าใจ Content แต่ไม่เข้าใจ Context หรือบริบทมากกว่า

ประเด็นเล็กๆ บนโลกออนไลน์ก็มีประโยชน์กับผู้อ่านได้ ถ้าเราเลือกเสพในมุมที่ให้คุณค่ากับเรา

แล้วพบกันใหม่กับ Marketing You Know?

 

ที่มา: http://www.brandage.com/article/9826/Marketing-You-Know-culture-MK-Case-study?fbclid=IwAR1HG3YMvIgqc4N11n5go3apWoExHf8pWkGovqA6SPm6H25OBWnp54laas8